ภาพเขียนมโนศิลปะ

ผลงานภาพเขียนทุกชิ้นของวูลฟ์ รอสบอร์กแสดงให้เห็นถึงการจัดวางองค์ประกอบที่ชัดเจน เป็นรูปแบบมโนศิลปะที่รวมความแตกต่างของสีอย่างชัดเจนเข้าไว้ด้วยกัน  โครงสร้างของลายเส้นที่แสดงให้เห็นความแตกต่าง ความหนักแน่น ความหยาบ และความหมายที่สื่อผ่านลายเส้นสี  ด้วยรูปแบบของภาพเขียนที่ใช้เส้นสีอันหลากหลายทาทับกันไปมาทำให้เราคาดเดาว่ามีอะไรอยู่ภายใต้ชั้นเส้นสีที่ซ้อนกันนั้น  ความรู้สึกถึงภาพเขียนบางส่วนได้ยื่นลอยเหนือออกมา  สื่อให้เห็นผลงานอันไร้ที่ติบนผ้าลินินที่ไร้การปรุงแต่ง ครั้นเพ่งพินิจภาพเขียนมโนศิลปะต่ออย่างลึกซึ้งจึงจะเห็นเป็นภาพศิลป์สามมิติอันน่าประทับใจ ที่บรรจงลงลายเซ็นของศิลปินด้วยเส้นสีแดงสดบนผืนภาพเขียน ผลงานอันสร้างสรรค์ของศิลปินท่านนี้ได้นำเสนออย่างต่อเนื่อง และเรียกภาพเขียนอย่างเป็นเอกลักษณ์ว่า “ภาพเขียนแบบซีทรู”  นอกจากนี้ ด้วยความสามารถผสมผสานภาพเขียนเสมือนจริงในสีน้ำมันกับภาพเขียนแบบมโนศิลปะบนผ้าลินินได้อย่างกลมกลืนในตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา และได้มีการพัฒนาเทคนิคการเขียนภาพมากขึ้นในรูปแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะของวูลฟ์ รอสบอร์ก คือภาพเขียนเชิงมโนศิลปะที่สื่อออกมาอย่างชัดเจน บนลายเส้นสีอะคริลิค และพื้นลินินขนาดใหญ่

ภาพเขียนเสมือนจริง

สืบเนื่องมาจากการศึกษาและประสบการณ์ของวูลฟ์ รอสบอร์กที่ได้เดินทางไปศึกษาในประเทศต่างๆและในเขตภูมิอากาศที่แตกต่างกัน ทำให้ รอสบอร์กได้ค้นพบธีมสีอีกสีหนึ่ง นั่นคือ ฉากเมฆ ภาพทิวทัศน์และภาพคนขนาดใหญ่ ทั้งหมดนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นเชิงนำเสนอแต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการพัฒนาไปสู่รูปแบบที่อิสระและเป็นเชิงมโนศิลปะด้วย ฉากเมฆที่มีมาก่อนหน้านั้นแสดงให้เห็นถึงมุมมองใหม่ อารมณ์ในบรรยากาศที่แตกต่างกันออกไป จากเมฆที่เสมือนมีชีวิตไปจนถึงการตีความอิสระโดยสมบูรณ์ที่สัมพันธ์ร่วมกับการใช้สี จากบรรยากาศที่สงบเงียบไปจนถึงบรรยากาศที่เสมือนมีการคุกคาม ผู้ชมสามารถตามติดความรู้สึกและความฝันต่างๆของเขาได้ ภาพทิวทัศน์ตลอดจนภาพคนนั้นมักจะแปลกออกไป แต่ก็ยังคงความกลมกลืนในแบบฉบับดั้งเดิมที่พิเศษอยู่ วูลฟ์ รอสบอร์กใช้สีน้ำมันกับภาพเขียนเสมือนจริงของเขาซึ่งเขาได้ประยุกต์ใช้ในกระบวนการพิเศษนั่นคือ ชวาเบลท์เทคนิค จากผลงานเหล่านี้ ทำให้เขาประสบความสำเร็จในการสื่อให้เห็นถึงชั้นสีที่แตกต่างกันได้อย่างกลมกลืน ด้วยเหตุนี้เขาจึงประสบความสำเร็จทางการถ่ายภาพด้วยการสื่อผ่านภาพเขียนเสมือนจริงของเขา

สถาปัตยกรรม

นอกจากจิตรกรรม การออกแบบและสถาปัตยกรรมจะมีผลต่อชีวิตของศิลปินอย่างวูลฟ์ รอสบอร์ก (นามแฝง) หรือชื่อในฐานะนักธุรกิจว่า ไมเคิล วูนช์เชแล้ว เขายังสามารถผสมผสานจิตรกรรมให้เข้ากับผลงานด้านการออกแบบภายในและเฟอร์นิเจอร์ต่างๆได้อย่างลงตัว ที่ผ่านมาไมเคิล วูนช์เชได้รับเหรียญเงินในการแข่งขันวางผังเมืองของสหพันธรัฐเยอรมนีในปี 2526 จากผลงานอาคารวันเดอร์แลนด์ของเขา ในปี 2537 พีระมิดแก้วที่อยู่อาศัยได้จริงได้ถูกสร้างขึ้นโดยเสร็จสมบูรณ์เป็นครั้งแรกในเฟิร์ธ จากนั้นก็มีอาคารอีกหลายหลังเกิดตามมาในเยอรมนีและประเทศไทย นับตั้งแต่ปี 2546 วูลฟ์ รอสบอร์กได้พัฒนาแนวคิดเชิงบูรณาการขึ้นสำหรับบ้านพักอาศัยในเอเชีย การออกแบบสวน สถาปัตยกรรม การออกแบบภายในและเฟอร์นิเจอร์ ตลอดจนจิตรกรรม รวมทั้งศิลปะภาพเขียน เป็นต้น รู้สึกถึงความสอดคล้องกลมกลืน ทุกห้องในบ้าน ยิ่งมองอย่างพินิจพิเคราะห์ไม่ว่าจากภายในออกสู่ภายนอกและจากภายนอกเข้าสู่ภายในนั้นยิ่งพาให้ผู้เยี่ยมเยียนรู้สึกรื่นรมณ์ ดังนั้น ภาพเขียนของเขาทั้งหมดสื่อเข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึก และบรรยากาศที่อยู่ล้อมรอบ เพื่อให้ผู้ที่เยี่ยมเยียนรอสบอร์กวิลล่าได้รู้สึกสบายใจ ผ่อนคลาย เสมือนบ้านตัวเอง จนรู้สึกอยากจะอยู่ที่นี่ ขณะเดียวกันก็สร้างความเป็นส่วนตัว ด้วยการปกคลุมด้วยธรรมชาติ โดยมีต้นไม้รายล้อมรอบบ้าน อย่างร่มรื่น เป็นระเบียบและบดบังการมองเห็นจากภายนอกได้อย่างดี เปรียบเสมือนสรวงสวรรค์เล็กๆ ในบรรยากาศเงียบสงบร่มรื่น ซึ่งด้วยสภาพภูมิอากาศ ในเขตประเทศไทยเช่นนี้ จึงสามารถเนรมิตสวรรค์ได้ตลอดทั้งปี   และณ. ปัจจุบัน รอสบอร์กวิลล่าแห่งที่สามภายใต้แนวคิดนี้ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว